การแบ่ง Class ของเพาเวอร์แอมป์


วันนี้ พอจะมีเวลาว่าง ก็เลยเขียนบทความ เรื่องเครื่องขยายเสียงมาเล่าสู่กันอ่านพยายามจะหลีกเลี่ยง ศัพย์ทางเทคนิค เรามาเริ่มเลยว่าเครื่องขยาย เขาแบ่งกันอย่างไรทางอิเล็คโทรนิค

เครื่องเสียงมีคลาส (class) ต่าง ๆ ซึ่งบ่งบอกถึงรูปแบบของอุปกรณ์เสียงและวิธีการทำงานของมัน คลาสของเครื่องเสียงมีผลต่อคุณภาพเสียงและประสิทธิภาพของอุปกรณ์เหล่านั้น นี่คือคลาสหลักที่คุ้นเคยในเครื่องเสียง:

เขาแบ่งกันเป็น Class กันครับก็มีดังนี้ครับ

1. **Class-A Amplifiers (คลาสเอ)**:
- มีคุณภาพเสียงสูงและเสถียรภาพสูง.
- สามารถให้เสียงที่คมชัดและอร่อยตา.
- อุปกรณ์มีความร้อนมากและมีการใช้พลังงานมาก.
- ใช้ในเครื่องขยายเสียงระดับมืออาชีพและเครื่องเสียงไฮแฟายท์.

2. **Class-AB Amplifiers (คลาสเอบี)**:
- คุณภาพเสียงดีและเสถียรภาพกลาง.
- มีความร้อนน้อยกว่าคลาสเอ.
- ใช้ในเครื่องขยายเสียงทั่วไปและเครื่องเสียงที่ใช้ในการแสดงสด.

3. **Class-D Amplifiers (คลาสดี)**:
- มีประสิทธิภาพสูงในการแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียง.
- มีขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบา.
- ใช้พลังงานน้อยและไม่ร้อน.
- ใช้ในเครื่องขยายเสียงที่ต้องการพลังงานมากแต่มีขนาดเล็ก เช่น ลำโพงพกพา.

4. **Class-H Amplifiers (คลาสเอช)**:
- มีคุณสมบัติคล้ายคลาส-AB แต่มีการปรับแต่งความสูงของแรงดันไฟฟ้าในการทำงาน.
- มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูง.
- ใช้ในเครื่องขยายเสียงที่ต้องการควบคุมความสูงของแรงดันไฟฟ้าตามสัญญาณเสียงที่เข้า.

5. **Class-T Amplifiers (T-amp)**:
- เป็นรูปแบบของ Class-D Amplifiers ที่พัฒนาขึ้นมา.
- มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูง.
- มีขนาดเล็กและเสียงคุณภาพดี.
- ใช้ในเครื่องขยายเสียงพกพาและอุปกรณ์เสียงที่มีพื้นที่จำกัด.

6. **Class-G Amplifiers (คลาสจี)**:
- มีการควบคุมแรงดันไฟฟ้าอย่างอัตโนมัติเพื่อลดการใช้พลังงาน.
- ให้ประสิทธิภาพสูงและคุณภาพเสียงดี.
- ใช้ในเครื่องขยายเสียงที่ต้องการประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงแต่มีความเสถียร.

7. **Class-I Amplifiers (คลาสไอ)**:
- เป็นรูปแบบของ Class-D Amplifiers ที่ติดตั้งคลื่นความถี่สูงในการทำงาน.
- ให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูง.
- ใช้ในเครื่องขยายเสียงที่ต้องการคุณภาพเสียงสูงระดับมืออาชีพ.

คลาสของเครื่องเสียงจะมีผลต่อคุณภาพเสียง ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และความเสถียรของอุปกรณ์ ผู้ใช้ควรเลือกคลาสที่เหมาะกับงานและความต้องการของพวกเขาเพื่อให้ได้ประสิทธิ

ภาพที่ดีที่สุดจากเครื่องเสียงของพวกเขา

วงจรเพาเวอร์แอมป์ Class A
วงจรลักษณะนี้ คือ วงจรขยายเสียงคุณภาพสูง เสียงไม่มีความเพี้ยนเลยก็ว่าได้ แต่ปัญหาคือ ให้กำลังต่ำ แต่ใช้กำลังไฟสูง หรือ ก็คือ เราป้อนไฟกระสสูงมาก แต่พอขับออกลำโพงแล้วเสียงไม่ค่อยดังนักก็คงต้องแลกกับคุณภาพเสียงที่ดีครับ

เครื่องขยายคลาส A มีความเพี้ยนต่ำสุด ความเที่ยงตรงสูง กินกำลังไฟมาก และใช้ไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงวงจรตลอดเวลา กำลังขยายไม่มากเนื่องจากกินไฟมากและมีความร้อนในขณะทำงานสูงมาก ต้องใช้ระบายความร้อนขนาดใหญ่ ให้คุณภาพเสียงหวานและเสียงดีมากกว่าคลาสอื่นๆทั้งหมดที่เคยมีมา ไม่คอยนิยมใช้ในเครื่องขยายกำลังสูงๆ มีใช้กับเครื่องเสียง Hi-End และกำลังขยายต่ำๆ

 

แอมป์Class Aไบอัสจ่ายกระแสให้กับทรานซิสเตอร์ขยายอยู่ตลอดเวลาถึงแม้ว่าไม่มีการป้อนสัญญาณอินพุทเข้ามาก็ตาม ทรานซิสเตอร์ก็ทำงานตลอด จึงทำให้ทรานซิสเตอร์เกิดความร้อนสะสมมากขึ้นตลอดเวลา เนื่องจากมีการจ่ายกระแสให้กับทรานซิสเตอร์อยู่ตลอดเวลาจึงทำให้ได้กำลังขยายไม่สูงมากนัก แต่มีทำให้มีความผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงต่ำมาก ให้รายละเอียดของเสียงได้ดีมาก
ข้อเสียของแอมป์Class A ก็คือกินกระแสมาก และไม่สามารถขยายสัญญาณเสียงให้สูงระดับ PA ได้
และเนื่องจากกินกระแสสูงมากๆ ทรานซิสเตอร์มีกระแสไหลตลอดจึงทำให้เกิดความร้อนสูงต้องใช้ระบายความร้อนที่ใหญ่มากๆแก่ทรานซิตเตอร์
เนื่องจากมีกระแสจ่ายเข้าทรานซิตเตอร์ตลอดเวลาจึงทำให้การขยายสัญญาณมีความผิดเพี้ยนต่ำก่อให้การตอบสนองความถี่เสียงได้ดีมาก


วงจรขยายเครื่องเสียงClass B
เป็นการจัดวงจรต่างจากClass A แบบตรงกันข้ามเลย คื่อแทบจะไม่ใช้กำลังไฟฟ้าเลย ขณะไม่มีสัญญาณเข้ามา และจะใช้ไฟก็ต่อเมื่อ มีสัญญาณอินพุทเข้ามาเท่านั้น ระบายความร้อนก็ต่ำ วงจรClass B จึงให้ความเพีียนสูงมาก ปัจจุบันแทบไม่เห็น แอมป์ Class B มีอยู่ตามท่องตลาดแล้ว


วงจรขยายเครื่องเสียง CLASS AB
เป็นคลาสที่นิยมใช้กันทั่วไปของเครื่องเสียงปัจจุบัน เป็นการออกแบบวงจรแบบเอาคลาสAและคลาสBมาผสมผสานกัน คือ มีการปล่อยให้มีกระแสปริมาณน้อย ๆ ไหลผ่านทรานซิสเตอร์นิดหน่อย แม้ว่าจะไม่มีสัญญาณอินพุทเข้ามาเลย ขณะเปิดเครื่องก็จะมีกระแสไหลทำงานอยู่ระดับเล็กน้อย การออกแบบวงจรแบบนี้ จะมีความร้อนบ้างเล็กน้อย กับ ทรานซิสเตอร์ จะต้องมีการระบายความร้อนบ้างเพื่อไมให้มีความร้อนสะสม เมือกำลังอินพุทเข้ามาเต็มที่ เทคโนโลยีการออกแบบปัจจุบัน ได้ปรับปรุงให้เสียงออกมาเพื่อให้เป็นธรรมชาติืที่สุดและมีระดับการใช้งานถึงระดับ Hi End


วงจรขยายเสียง Class D
แนวคิดของเครื่องขยายเสียง Class D ได้มีความพยายามออกแบบวงจรขยายเสียงคลาสDมานานมากกว่า50ปีมาแล้ว ในปัจจุบันเนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคได้ก้าวหน้าไปไกลความไวในตัวเก็บประจุไฟฟ้าดีขึ้นและได้ประจุได้มากขึ้นความก้าวหน้าทางอุปกรณ์และประสิทธิภาพของอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ที่ทันสมัยและเร็วขึ้นทำให้ราคาออกแบบวงจรคลาสDถูกลงการทำออกแบบวงจรคลาสDแตกต่างจากวงจรคลาสA,b,ABอย่างสินเชิง ลักษณะของสัญญาณจะเป็นคลื่นรูปSineแต่เครื่องขยายคลาสDจะเป็นสแควร์waveลักษณะความกว้างที่เรียกว่าPWM(Pulse Width Modulation)ดังนั้นมันจะไม่เหมือนคลื้นเสียงทั่วไปเนื่องจากวงจรคลาสDเป็นวงจรแบบsquae wave สวิตชิ้งฉนั้นความถี่สูงของสวิตชิ้งออกมารบกวนจึงถูกวงจรกรองความถี่สูงกรองออกไปมันจึงทำให้ความถี่สูงระบบเสียงที่ต้องการประสิทธิภาพสูงและการใช้พลังงานต่ำกว่าวงจรขยายเสียงแบบอื่น ๆ

ข้อดีหลักของวงจรขยายเสียง Class D รวมถึง:

1. ประสิทธิภาพที่สูง:วงจร Class D มีประสิทธิภาพการแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นสัญญาณเสียงสูงมาก ซึ่งทำให้มีการสูญเสียพลังงานน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับวงจรขยายเสียงแบบอื่น ๆ

2. ขนาดเล็กและเบา:วงจร Class D มักมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เนื่องจากมีความจำเป็นในการใช้วงจรอัตโนมัติและการทำงานแบบดิจิทัล

3. น้อยที่สุดในการผลิตความร้อน: เนื่องจากการทำงานแบบดิจิทัล ทำให้มีการสร้างความร้อนน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับวงจรขยายเสียงแบบ Analog อื่น ๆ

4. การใช้พลังงานต่ำ: Class D Amplifiers มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดี ทำให้เหมาะสำหรับการใช้ในแอปพลิเคชันที่ต้องการประหยัดพลังงาน

วงจรขยายเสียง Class D ทำงานโดยการทำให้สัญญาณกระแสไฟฟ้าของเสียงถูกแปลงเป็นสัญญาณ PWM (Pulse Width Modulation) ที่ถูกควบคุมด้วยความถี่ที่สูงขึ้นแทนการใช้การเปลี่ยนแปลงขนาดของกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะถูกกรองเพื่อให้ได้สัญญาณเสียงที่เหมือนกับข้อมูลเสียงต้นฉบับที่ต้องการขยายเสียงได้ที่สุด การใช้เทคนิคการทำงานแบบดิจิทัลนี้ทำให้ Class D Amplifiers มีประสิทธิภาพการแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียงที่สูงและมีขนาดที่เล็กที่สุด.

ความเป็นที่นิยมของ Class D Amplifiers นำไปสู่การใช้งานในหลายแอปพลิเคชัน เช่น ระบบเสียงรถยนต์ ระบบเสียงที่ใช้ในที่ประชุม ระบบเสียงบ้าน และอุปกรณ์เสียงพกพาอื่น ๆ


วงจรขยายเสียง Class G
เป็นการนำเอาวงจรขยายแบบ Class AB มาปัดฝุ่นปรับปรุงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและคุณภาพของเสียงที่ดีมากยิ่งขึ้น ด้วยการออกแบบให้เครื่องขยายเสียงมีไฟเลี้ยงวงจรมากขึ้น โดยทั่วไปอาจมีมากกว่า 2 ชุดขึ้นไปเหตุผลที่ต้องออกแบบให้วงจรมีไฟเลี้ยงวงจรมีไฟมาเลี้ยงวงจรมากจุดขึ้น ก็เพื่อให้เกิดการจ่ายกระแสไฟไปตามลักษณะคามแรงหรือเบาของสัญญาณที่เข้ามา การออกแบบลักษณะนี้ช่วยให้เกิดความร้อนตํ่าแต่ได้ประสิทธิภาพสูง หลักการทำงานก็ขึ้นอยู่กับความแรงของสัญญาณเป็นตัวกำหนดการจ่ายกระแสไฟโดยตรง ดังนั้นจึงมีการออกแบบการสลับการจ่ายกระแสไฟให้มีความสมํ่าเสมอและ ไม่เกิดอาการสะดุดในขณะจ่ายไฟสลับอย่างต่อเนื่องอีกด้วย


คุณสมบัติของเพาเวอร์แอมป์ที่ดีนั้นไม่อาจจะสรุปได้โดยง่าย ในแง่ของเทคนิคพื้นฐานที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นเพียงพื้นฐานที่ท่านผู้อ่านควรทราบไว้บ้าง เพื่อจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแอมปลิไฟร์เออร์ แต่ถ้าพิเคราะห์กันถึงวิธีการเลือกซื้อแล้ว เรามักจะจัดให้เพาเวอร์แอมป์ได้มีโอกาสจับคู่กับปรีแอมป์ แล้วทำงานขับลำโพงจริง ๆ เพื่อฟังผลของคุณภาพเสียง มากกว่าการพิจารณาคุณสมบัติของเพาเวอร์แอมป์เพียงเครื่องเดียว

 

 

Knowledge Audio ความรู้เรื่องเสียง

Visitors: 2,209,956