Review YAMAHA DSR Series เครื่องเสียงกลางแจ้ง

Active Loudspeaker : DSR112 DSR115 DSR215 DSR118W

 กับ DSR Series : Active Loudspeaker ลำโพงแบบมีภาคขยายในตัวรุ่นใหม่จากค่าย ยามาฮ่า ผู้พัฒนาอุปกรณ์และเครื่องเสียงสำหรับ วงการพีเอระดับโลก ที่มีประวัติอันยาวนาน

   ยามาฮ่า เป็นชื่อผลิตภัณฑ์เครื่องเสียงที่รู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ที่เปิดศักราชใหม่ของวงการระบบเสียงด้วยการเปิดตัว ลำโพงรุ่นใหม่ใช้ชื่อว่า DSR-Series ซึ่งเป็นลำโพงแบบ Active Speaker ที่มีภาคขยายในตัว ซึ่งวงการตลาดระบบเสียงเมืองไทย จะได้พบกับความพิเศษของ Yamaha DSR-Series ด้วยแนวคิดในการสร้างสรรค์ฟังก์ชั่นและรูปแบบการออกแบบลำโพงยามาฮ่า ที่มีคุณภาพ ที่ให้ความสำคัญในเรื่องของความเป็นกลางของโทนเสียง ภายใต้แนวคิด Natural sound ที่ผสานเทคโนโลยีที่ลงตัวที่สุด...
   ลำโพง DSR Series ของ Yamaha สามารถสนองความต้องการของซาวนด์เอ็นจิเนียร์ ให้ทำงานถ่ายทอดนำเสนอเสียงที่ดีที่สุดออกมาได้ ผ่านระบบลำโพงที่มีความเป็นกลางของโทนเสียง ให้เป็นไปตามต้นแบบเสียงที่แท้จริงได้อย่างดีที่สุด... ระบบลำโพงที่ดีนั้น จะต้องถ่ายทอดนำเสนอเสียงที่มาจากต้นฉบับได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน... ซึ่งหนึ่งในปัญหาเหล่านั้นก็อาจเนื่องมาจากความไม่เหมาะสมกันของภาคขยายกับลำโพง... ดังนั้นยามาฮ่า จึงเกิดแนวคิดที่จะรวมทุกๆภาคที่สำคัญไว้ในตัวลำโพง เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ออกมาดีที่สุด นอกจากการออกแบบภาคขยายแบบใหม่รวมเข้าไว้ในลำโพง DSR Series แล้ว ยามาฮ่า ซึ่งถือว่าเป็นผู้พัฒนา DSP ที่ใช้ในงานเสียงที่
ดีที่สุดค่ายหนึ่งของโลก ยังได้นำเทคโนโลยี DSP ของตนเองมาบรรจุไว้ในลำโพงรุ่นนี้ด้วย ทำให้ DSR Series ของยามาฮ่า นอกจากจะได้ ความดัง (SPL) ที่มากกว่าลำโพงชนิดเดียวกันในตลาดแล้วยังมี ฟังก์ชั่นพิเศษๆ ที่บรรจุไว้ในตู้ลำโพงรุ่นนี้ เพื่อสนองการใช้งานของผู้ที่ทำงานด้านเสียง ได้บรรลุขีดสุดของความดังและโทนเสียงที่มีคุณภาพอีกด้วย...

การดีไซน์ฟังก์ชันใช้งานที่โดดเด่น
INTEGRAL DIGITAL TUNING

     High Performance Digital Signal Processor and 24-bit Discrete AD and DA Converters

   ยามาฮ่า ได้มีแนวคิดในการออกแบบลำโพงในรุ่น DSR Series โดยรวมเอาความผสมผสานระหว่างวงจรประมวลผลแบบดิจิตอล (DSP) ขนาด 48 บิท กับการออกแบบทางอะคูสติกของตู้ลำโพง ทำให้ได้ลำโพง ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อรองรับงานทางด้านเสียงทุกรูปแบบ โดยได้เลือกใช้ภาคแปลงสัญญาณ AD-DA ขนาด 24 บิท และภาค ประมวลผลภายในที่ 48 บิท (สะสม 76 บิท) ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถประมวลผลได้อย่างแม่นยำ เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่สูงสุดจากวงจรดิจิตอล โดยสัญญาณอะนาล็อคจะถูกแยกออกเป็นสองส่วน และส่งไปยังภาคแปลงสัญญาณแบบดิจิตอลเพื่อประมวลผล ผลลัพท์
    สำหรับการจัดการความถี่ในลำโพงรุ่นนี้ ยามาฮ่า ได้ออกแบบวงจรขึ้นใหม่โดยใช้ชื่อ Fir-X tuning (Finite Impulse Response) ที่เป็นเอกลักษณ์ของ ยามาฮ่า เองมาใช้กับลำโพงรุ่น DSR-Series โดยวงจรจัดการความถี่ FIR-X ทำให้ได้เฟสของสัญญาณ ที่ราบเรียบต่อเนื่อง เพิ่มประสิทธิภาพการตอบสนองเชิงความถี่และเฟสที่ดี ระหว่างตัวดอกลำโพงทวีตเตอร์และวูฟเฟอร์ ขจัดปัญหาในเรื่องของการเหลื่อมเฟสของสัญญาณเสียงในตู้เดียวกันทำให้ ยามาฮ่า ได้ตู้ลำโพงที่ให้โทนเสียงที่สะอาดกว่าที่เคยเป็นมา และไดนามิกของเสียงที่กว้างมาก รองรับการตอบสนองทุกย่านความถี่ของเสียงดนตรีได้เป็นอย่างดี...ที่ได้ทำให้ลำโพงรุ่นนี้มีค่าอัตราส่วนของสัญญาณรบกวนนั้นลดลงได้เฉลี่ย 3dB ทีเดียว...
  อย่างชัดเจน การทำงานของ D-Contour นั้นจะควบคุมย่านความถี่ต่างๆ ร่วมกับระบบตรวจสอบอัจฉริยะภายในลำโพง... โดยปกติแล้วคอมเพรสเซอร์จะเป็นอุปกรณ์ที่เรานำ มาใช้ในการจัดการเพื่อให้ได้SPL ที่ดีขึ้น แต่วิธีการนี้ก็มีผลกระทบในด้านความกว้างของคลื่นเสียง คือมีการบีบและจำกัดช่วงคลื่นสัญญาณเสียงนั่นเอง ทำให้เราอาจรู้สึกได้ถึงเสียงที่เหมือนมีอะไรจำกัดไว้... โดยแนวคิดของ ยามาฮ่า D-Contour จะทำการตรวจสอบสัญญาณออกในย่าน
ความถี่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และส่งค่าที่ตรวจสอบได้ย้อนกลับไปคำนวนหาค่าที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละย่านความถี่นั้นๆ ผลที่ได้จาก ยามาฮ่า D-Contour ฟังก์ชั่นการควบคุมความถี่ของ สัญญาณเสียง เป็นแนวคิดในการสร้างความสมดุลย์ให้กับเสียงใน ย่านความถี่ต่างๆ และคงคุณภาพของเสียงในความดังต่างๆ ได้ D-contour นั้นจะได้ค่า SPL ที่สูงสุดในขณะที่ยังคงไว้ด้วยคุณภาพเสียงที่กว้างรองรับทุกย่านความถี่ และรักษาคุณภาพของเสียงดนตรีต้นฉบับได้อย่าง
ดีที่สุด จึงมั่นใจได้ว่า ในทุกๆความถี่ของเสียงที่หูของคนเรารองรับได้นั้นลำโพง DSR-Series สามารถถ่ายทอดพลังเสียงได้อย่างต้นแบบธรรม ชาติ
  ชัดเจนและมีพลัง ระดับของความดัง-เบานั้นจะต้องไม่มีผลกระทบในการถ่ายทอดเสียงที่สมบูรณ์สู่ผู้ฟัง... อย่างไรก็ตามผู้ใช้งานก็ยังสามารถปิดหรือเปิด ฟังก์ชั่นนี้ของลำโพงได้ หากไม่มีความต้องการใช้งาน...
POWERFUL DIGITAL DRIVE
  ภาคขยายใหม่อันเป็นขุมพลังของลำโพงรุ่นนี้ ยามาฮ่า ได้นำดิจิตอลเพาเวอร์แอมป์แบบ คลาส D มาใช้ โดยให้กำลังขับที่ 1300 วัตต์ และ 800วัตต์ในลำโพงซับเบสขนาด 18 นิ้ว ภาคขยายนี้ให้การสูญเสียพลังงานกับความร้อนต่ำมาก จึงไม่ต้องมีพัดลมระบายความร้อนในภาคขยายเหมือนกับภาคขยายแบบก่อนๆ โดยภาคขยายคลาสดีนี้ให้พลังเสียงที่คมชัดและหนักแน่นในขนาดของวงจรที่เล็กน้ำหนักเบา โดยแนวคิดที่รวมภาคขยาย, ตู้ลำโพงและภาคประมวลผลสัญญาณไว้ด้วยกัน จึงได้ลำโพง DSR-Series ที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในบรรดาลำโพงชนิดเดียวกัน โดยค่า SPL ของลำโพงรุ่นนี้วัดได้ที่ 136dB เลยทีเดียว ภาคขยายแบบคลาสดีที่นำมาใช้ มีแผง
ระบายความร้อนอลูมิเนียมที่ด้านหลังแผงวงจร ติดตั้งไว้บริเวณด้านหลังของตัวตู้ โดยในภาคDSP ได้ป้องกันการรบกวนของภาคขยายและภาคจ่ายไฟของวงจรคลาส D ไว้ด้วยฉนวนป้องกันคลื่นรบกวนต่างๆ ไว้เป็นอย่างดี โมดูลนี้ถูกออกแบบมาเป็นสัดส่วนอย่างดี โดยคำนึงถึงการระบายความร้อนของภาคต่างๆ การป้องกันความร้อนสะสมเข้าสู่ภายในตัวตู้ลำโพง และส่วนของการบำรุงซ่อมแซมก็ยังทำได้ง่ายอีกด้วย...
   การทำงานที่เต็มประสิทธิภาพของภาคขยายแบบคลาสดีนั้น เป็นผลมาจากการเลือกใช้ภาคจ่ายไฟที่มีประสิทธิภาพสูงแบบสวิตชิ่ง โดยยามาฮ่า ได้ออกแบบวงจร Full-Resonance Switching-Mode Power Supply with PFC* (Power Factor Correction) เพื่อจัดการกับเรื่องเฟสของกระแสไฟ, ขยายและรักษาระดับแรงดัน, สร้างความเสถียรให้ภาคจ่ายไฟแบบสวิตชิ่ง ให้ทำงานได้อย่างมั่นใจในสถานะการณ์ต่างๆ ที่อาจมีความต้องการแรงดันกับกระแสไฟที่ต่างกันไป... สอดคล้องกับภาคขยายของแอมป์ ในการทำการขยายสัญญาณในระดับความดังต่างๆ กัน วงจร PFC ของ ยามาฮ่า นั้นทำให้ได้แรงดันไฟและกระแสไฟที่สมดุลและสะอาดเพื่อเลี้ยงระบบต่างๆ สร้างความเชื่อมั่นรองรับการทำงานอย่างเต็มที่ของลำโพงรุ่นนี้ได้อย่างดี...
EXTENSIVE DSP PROTECTION
   DSP-controlled เป็นฟังก์ชั่นช่วยป้องกันความเสียหายให้กับระบบการทำงานภายในภาคต่างๆ ซึ่งภาคป้องกันเหล่านี้ใช้แบบเดียวกับใน TXn Series เพาเวอร์แอมป์ระดับมืออาชีพของยามาฮ่า เลยทีเดียว โดยฟังก์ชั่นนี้จะป้องกันความเสียหาย เช่น ตรวจเช็คอุณหภูมิ, แรงดัน, กระแสให้กับภาคจ่ายไฟและภาคขยาย และในส่วนดอกลำโพงนั้นวงจรจะป้องกันความเสียหายจากกระแสหรือความดันที่ส่งจ่ายมาจากภาคขยาย อันอาจจะเกิดความผิดพลาดได้ในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดในสถานที่ต่างๆ วงจรนี้จึงทำให้ได้ฟังก์ชั่นที่ป้องกันความเสียหายในภาคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อความมั่นใจในการทำงานได้เป็นอย่างดี...
Premium-Grade Custom-Designed Transducers
องค์ประกอบสำคัญที่จะถ่ายทอดคุณภาพเสียงที่ดีนั้น ต้องได้ตัวดอกลำโพงที่มีคุณภาพสูงด้วย ในลำโพง DSR-Series นั้น ยามาฮ่า ได้ศึกษาและหาดอกลำโพงหลากหลายชนิด โดยเลือกชนิดที่ให้ความเพี้ยนที่ต่ำ ตอบสนองความถี่ทุกย่านได้กว้าง มีความสมดุลของย่านความถี่ตอบสนอง มีความเหมาะสมกับตัวตู้ลำโพง พร้อมรองรับภาคขยายที่สูง จึงทำให้ได้ลำโพง DSR-Series ที่ให้เสียงเบสที่ลึก 
ช่วงเสียงกลางที่สดใสชัดเจน และได้ปลายเสียงที่ดีในความถี่สูงๆ
    สำหรับเสียงแหลมนั้นเป็นแบบ Titanium Diaphragm ขนาด 2 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดที่ใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับลำโพงในรุ่นคล้ายๆ กัน และใช้แม่เหล็กเหลวผสมแบบ Neodymium ให้โทนเสียงได้อย่างใสสะอาด รองรับความถี่ได้สูงกว่า 20kHz. ทำให้ได้พลัง เสียงที่มีกำลังสูงในขณะที่ความเพี้ยนมีต่ำมาก ถึงแม้ในขณะที่ระดับความดังสูงๆ ก็ตามแม่เหล็กแบบ Neodymium ที่มีน้ำหนักเบาทำให้โครงสร้างของลำโพงมีน้ำหนักลดลง...
    ส่วนลำโพงขนาด 15 นิ้ว และ 12 นิ้ว นั้นมี Voice coil ขนาดใหญ่ 3 นิ้ว ใช้
แม่เหล็กเหลวแบบ Neodymium และโครงสร้างของลำโพงทำมาจากอลูมิเนียม เป็นเพราะ
ว่าลำโพงรุ่น DSR-Series นั้น ยามาฮ่า ออกแบบมาให้มีขุมพลังที่มหาศาล ให้โทนเสียงที่
กว้างลึก เสียงกลางที่ใสสะอาด และต้องมีน้ำหนักเบาเพื่อง่ายต่อการขนย้ายด้วย...
Exclusive Wide Dispersion CD Waveguide Horn
     ใน DSR-Series นั้นยังได้ใช้ปากฮอร์นแบบใหม่อีกด้วย ปัญหาของปากฮอร์นแบบเดิมนั้น มักจะกระจาย
เสียงออก ไปด้านข้างเป็นส่วนใหญ่ โดยจะได้รูปแบบการ
กระจายเสียงที่คล้ายรูปวงรีสำหรับปากฮอนใหม่นี้ ยามาฮ่า ออกแบบให้สามารถกระจายเสียงได้กว้างขึ้นในแนวตั้งและแนวนอน ถ้าดูจากรูปจะใกล้เคียงกับรูปสี่เหลี่ยมมากที่สุด โดยรูปแบบนี้ทำให้ได้พื้นที่กระจายเสียงทีครอบคลุมได้ดีกว่า โดยสามารถเฉลี่ยความดังได้อย่าง

Wide Dispersion CD Waveguide Horn
สมบูรณ์ คงไว้ซึ่งคุณภาพเสียงในแต่ล่ะย่านความถี่สำหรับผู้ฟัง....
ผลการทดสอบจากการใช้งาน
    เพื่อเป็นการนำเสนอในอีกมุมมองของการลองฟังและใช้งานลำโพง DSR-Series
ของ ยามาฮ่า ทางทีมงานกองบรรณาธิการ ก็ได้เดินทางเข้าร่วมการลองใช้งานที่โชว์รูมของ
ยามาฮ่า ที่ YPAC : Yamaha Professional Audio Center ซึ่งได้ทำการติดตั้งไว้รองรับ
การทดสอบครบรุ่นทั้ง DSR112, DSR115, DSR215 และ DSR118 ซึ่งในครั้งนี้เป็นการ ใช้งานร่วมกับบอร์ดดิจิตอล Yamaha LS9 Series พร้อมทั้งได้รับ ฟังการบรรยายสรุปถึงคุณลักษณะที่โดดเด่นในฟังก์ชั่นต่างๆ ของ DSR-Series ของ ยามาฮ่า จากทางทีมงานของ ยามาฮ่า
ที่โชว์รูมดังกล่าว โดยในการนำเสนอในช่วงการลองใช้งานนี้ จะเป็นการนำเสนอในข้อมูลที่ต่อเนื่องจากข้อมูลทางเทคนิคที่กล่าวมาแล้วข้างต้น...
    ในครั้งแรกที่ได้เห็นตัวจริงของลำโพง DSR-Series ก็ต้องบอกว่าเป็นตู้ลำโพงที่อาจจะดูเรียบๆ ธรรมดา แต่ในรายละเอียดของการออกแบบในส่วนของภายนอกนั้น ยังคงไว้ซึ่งการคัดสรรวัสดุตกแต่งที่ทนทานและมีความปรานีตในแบบฉบับของ ยามาฮ่า ตัวตู้ยังเน้นเป็นตู้ไม้เพื่อให้ได้คุณลักษณะของเสียงที่เต็มน้ำเสียง อีกทั้งด้วยการออกแบบทางด้านอะคูสติกภายในตู้ ที่รองรับกับไดรเวอร์และบอร์ดวงจรภาคการทำงานต่างๆ ที่บรรจุไว้ภาย ในได้อย่างเป็นสัดส่วน โดยรูปทรงในรุ่น DSR112 นั้นจะแตกต่างจากรุ่น DSR115
ตรงที่รูปทรง DSR112 มีการออกแบบให้มีมุมขอบตัวตู้ที่สามารถตั้งวางเป็นลำโพง เวจมอนิเตอร์บนเวทีได้ และทุกรุ่นจะมีจุดไว้สำหรับการยึดแขวนลำโพงได้ และสิ่งที่ น่าสนใจอีกประการหนึ่งในเรื่องของการออกแบบปากฮอร์นใหม่ที่มีมุมกระจายเสียง ที่ 60 องศา (แนวตั้ง) และ 90 องศา (แนวนอน) ที่เน้นให้การมีมุมที่ครอบคลุมพื้นที่ ได้กว้างกว่าลำโพงทั่วไป โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้งานในแบบเป็นลำโพงฟูลเรนจ์ที่ถือว่า เป็นจุดเด่นมากเลยทีเดียว...
       คราวนี้เรามาลองดูการทำงานของฟังก์ชั่น D-Contour กันบ้าง ฟังก์ชั่น D-Contour นี้เป็นหนึ่งในหน้าที่การทำงานของภาค DSP ภายใน DSR Series ได้ ออกแบบมาเพื่อการจัดการระดับของสัญญาณเสียงตลอดย่านที่เข้ามาทางอินพุตและถูกขับออกไปทางเอาต์พุต โดยการป้อนกลับเข้ามาทำการประมวลผล ทำให้มีการ รักษาระดับของสัญญาณเสียงในตลอดย่านที่ทำงานในขณะนั้น ให้มีความคมชัดใน ลักษณะสมดุลกันเมื่อต้องทำงานที่ระดับค่า SPL สูงๆ ซึ่งการทำงานของ D-Contourนี้จะไม่เหมือนกับคอมเพรสเซอร์หรือลิมิเตอร์ 
ที่เมื่อใช้แล้วมักจะให้ความรู้สึกว่าเสียงมีการถูกกดบีบหายไปในบางส่วน ซึ่งในการใช้ D-Contour จะไม่ปรากฎถึงความรู้สึกเช่นนั้นเลย... และที่สำคัญก็คือ ในขณะที่เลือกใช้ D-Contour ก็จะค่อยๆ ปรับเปลี่ยน ระดับเสียงอย่างนุ่มนวล ทำให้ไม่รู้สึกว่าเปลี่ยนแปลงกระทันหัน ซึ่งในมุมมองนี้จะ ทำให้ผู้ฟังค่อยๆ รับรู้ความเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพเสียงที่ดีขึ้นอย่างนุ่มนวล...
       ความน่าสนใจในฟังก์ชั่น D-Contour นี้ก็สามารถรับรู้ได้ แม้ว่าในการใช้ ระดับความดังที่ต่ำๆ เสียงย่านกลางที่เป็นเสียงร้องก็ยังสามารถรับฟังได้อย่างชัดเจน ซึ่งเมื่อไม่ใช้ D-Contour แล้วเสียงย่านกลางดังกล่าวอาจลดหายไปเลย... ในทำนอง เดียวกันเมื่อต้องใช้งาน D-Contour ที่ระดับความดังสูงๆ เสียงในย่านกลางและตลอดย่านก็ไม่ได้ถูกปรับมากมายเลย จนรู้สึกว่ามีย่านใดย่านหนึ่งโดดเด่นมากจนเกินความต้องการ ซึ่งในตลอดย่านเสียงนั้นจะถูกรักษาระดับและปรับสมดุลให้ได้ความนุ่มนวลของเสียงโดยรวมให้มีคุณภาพมากที่สุด… นี่ก็เป็นข้อดีของฟังก์ชั่น D-Contour ที่มีมาให้ในลำโพง DSR Series นี้...
        ในมุมมองของทางด้านพละกำลังนั้น จากการที่ได้ลองใช้งาน DSR Series เป็นเวลานานและหลากหลายระดับความดังรวมถึงทุกรุ่นที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็น DSR112 DSR115 DSR215 และ DSR118W ต่างให้ความรู้สึกถึงกำลังขับที่มีพลังเท่ากัน หมดทุกรุ่น นั่นหมายถึงดิจิตอลแอมป์คลาสดีที่ออกแบบมาในตู้ลำโพงนั้น ทำงานได้ อย่างเต็มประสิทธิภาพ จะรู้สึกแตกต่างได้เพียงเล็กน้อย ทางด้านการตอบสนองใน ย่านต่ำของ DSR115 ที่ทำได้ดีกว่า DSR112 ทั้งนี้ก็ต้องยกประโยชน์ให้กับความได้ เปรียบของไดรเวอร์ที่แตกต่างกันคือขนาด 15 นิ้ว กับ 12 นิ้ว ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ในข้อได้เปรียบ ทางอะคูสติกของไดรเวอร์อยู่แล้ว แต่ในด้านคุณภาพสูงสุดแล้ว สามารถสนองตอบ
ได้เท่ากันหมดทุกรุ่นโมเดลของ DSR Series... และที่น่าสนใจอีกจุดเด่นหนึ่งก็คือ
ตลอดช่วงการลองใช้งานในหลายชั่วโมงผ่านไปแล้ว ความร้อนในแผ่นระบายความ
ร้อนของภาคเพาเวอร์แอมป์ ที่ติดตั้งอยู่ด้านหลังตู้ลำโพงนั้น สามารถสัมผัสรู้ได้เพียง
แค่อุ่นๆ เล็กน้อยเท่านั้นเอง ซึ่งถือว่าเป็นเพาเวอร์แอมป์ที่เกิดความร้อนจากการทำงาน
ต่ำมากเมื่อเทียบกับกำลังขับที่สูงขนาด 1300 วัตต์...
       ที่สำคัญในเรื่องของการให้ความละเอียดในการออกแบบทางสภาพอะคูสติกภายในตัวตู้ลำโพงของ DSR Series นั้น ยามาฮ่าทำได้ดีเป็นอย่างมาก ในขณะที่กำลัง
ลองใช้งานนั้น ตู้ลำโพง DSR Series ถูกขับเสียงดนตรีที่ระดับความดังสูงในความหนาแน่นของเสียงตลอดย่านอย่างเต็มที่ เราลองสัมผัสที่ตัวตู้ลำโพง DSR Series ดูแทบไม่รู้สึกถึงความสั่นสะเทือนของตัวตู้เลย นั่นหมายความว่าระดับความ ดังของเสียง ถูกขับออกมาได้อย่างเต็มที่ทุกขนาดกำลังขับที่ใช้งานอยู่ ไม่รู้สึกมีการ สูญเสียคุณลักษณะของพลังเสียงไปกับโครงสร้างทางอะคูสติกของตัวตู้ลำโพงเลย... จึงมั่นใจได้ในคุณภาพของเสียงและพลังที่จะได้จากตู้ลำโพง DSR Series ของ ยามาฮ่า
       โดยสรุป... จากการที่ได้ทดสอบฟัง DSR-Series ของ ยามาฮ่า ในด้านโทนเสียง ไปจนถึงพละกำลังของเสียงแล้ว DSR Series เป็นลำโพงที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว... การตอบสนองความถี่ทำได้ดีตลอดย่าน โดยเฉพาะเมื่อทำงานร่วมกับฟังก์ชั่น D-Contour นั้น ให้ความเต็มของน้ำเสียงที่สมดุลกันตลอดย่านอย่างน่าสนใจทีเดียว...
       DSR Series ให้ Dynamic Range ที่กว้างและลงเสียงเบสที่ลึกได้อย่างนุ่มนวลเป็นธรรมชาติ... โทนเสียง กลางที่ชัดเจน สะอาด ทั้งภาคดนตรีและเสียงร้อง หรือแม้เสียงบรรยายก็รู้สึกได้ เสียงแหลม ที่ใสไม่รู้สึกแห้งในปลายเสียง และไม่จัดจน เกินจำเป็น ทำให้ได้ยินเสียงรายละเอียดของ ชิ้นดนตรีทุกชิ้นได้อย่างสมบูรณ์...
       DSR Series Active Loudspeaker ของ ยามาฮ่า จึงถือได้ว่าเป็นผู้นำเทรนด์ของตู้ลำโพงแบบแอกตีฟที่โดดเด่นในขณะนี้ และเป็นการเน้นย้ำถึงความเข้าใจในเรื่องของดิจิตอลแอมป์

ส่วนอินพุตและคอนโทรลของ DSR112, DSR115, DSR215
ที่ผนวกภาค DSP เข้ามาทำงานร่วมกันได้อย่างลงตัว DSR
Series มีให้เลือกใช้งานด้วยกัน อาทิ DSR112 DSR115 DSR215 และ DSR118W (Sub Woofer).....



                                          www.audio-hi-end.com

ส่วนอินพุตและคอนโทรลของ DSR118W

เครื่องเสียงกลางแจ้ง ลำโพงกลางแจ้ง ตู้ลำโพงกลางแจ้ง เครื่องขยายเสียงกลางแจ้ง ระบบเสียงกลางแจ้ง 
บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการติดตั้งระบบเสียง 

Visitors: 2,211,734